อนุสาวรีย์ระลึกถึงผู้พลีชีพจากการก่อกบฏต่อออตโตมัน(ช่วง WWI) ที่เต็มไปด้วยรอยกระสุนปืนจากสงครามกลางเมืองเลบานอนทศวรรษที่ 1980 (ถ่ายเมื่อต้นปี) อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณเส้นกรีนไลน์ แนวรบช่วงสงครามกลางเมือง ทิศเหนือเป็นฝั่งมาโรไนท์ และทิศใต้เป็นเขตซุนนี่
เรามักตีความปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจตกต่ำของเลบานอนทุกวันนี้ว่าเป็นผลจากสงครามกลางเมืองระหว่างสุนนี่ ชีอะห์และมาโรไนท์ในช่วง 1980
ต้นเหตุจริงๆคือการแยกเลบานอนจากซีเรีย ตามด้วยการพัฒนาของอาหรับอ่าวใน ค.ที่ 21
เบรุตเติบโตเป็นเมืองการค้าของอาหรับย่านเมดิเตอร์เรเนียนตั้งแต่ยุคออตโตมัน เป็นศูนย์การการศึกษาและขุมกำลังของพวกชาตินิยมอาหรับ นักชาตินิยมอาหรับหลายคนที่เผยแพร่ลัทธิสร้างชาติอาหรับเติบโตจากมหาวิทยาลัยอเมริกันในเบรุต เบื้องหลังความเจริญของเลบานอนคือทรัพยากรและตลาดที่กว้างใหญ่ในซีเรีย เบรุตเป็นเมืองท่าของดามัสกัส สองเมืองนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกัน แต่เมื่อฝรั่งเศสต้องการแยกชุมชนมาโรไนต์ให้เป็นเอกราชในปี 1946 ปรากฏว่ามีพื้นที่ภูเขาตอนเหนือเท่านั้นที่มาโรไนต์เป็นชนส่วนใหญ่ ประเทศใหม่นี้จะมีปัญหาพึ่งพาตนเองไม่ได้ จึงต้องเอาส่วนที่เป็นชุมชนชีอะห์ทางใต้และสุนนี่เข้ามารวมด้วย เลบานอนจึงกลายเป็นประเทศที่มีการแบ่งปันอำนาจระหว่างสุนนี่ คริสเตียนและชีอะห์ และตัดขาดจากซีเรีย ศักยภาพที่เบรุตเคยมี ค่อยๆหมดไป
การก่อตั้งประเทศอิสราเอลในปี 1948 ทำให้ชาวอาหรับจำนวนมากลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเลบานอน สมดุลที่เสียไปทำให้เกิดความขัดแย้งและปะทุเป็นสงครามกลางเมืองช่วงทศวรรษ 1980 หลังสงคราม ความฝันขอชาวเลบานอนที่จะฟื้นฟูประเทศให้เหมือนเดิมจางหายไปจากวิสัยทัศน์ของผู้นำชาติอาหรับอ่าว
เลบานอนยุคใหม่นั้นเติบโตจากการเป็นศูนย์กลางการค้าของโลกอาหรับ ทั้งตลาดการเงิน ศูนย์พบปะ/ประชุมทางธุรกิจ ศูนย์กลางการค้าเพชรพลอยไปจนถึงสินค้ามีแบรนด์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวของเศรษฐีอาหรับชาติอ่าวในวันหยุดสุดสัปดาห์ถ้าไม่ไปยุโรปก็ไปเบรุตแทน
แต่ตอนนี้ทั้งUAE(ดูไบ) กาตาร์ บะห์เรนและโอมาน มีทุกอย่างที่เลบานอนเคยมี และต่างแข่งกันกันเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจและการเงินที่ดุเดือดเสียด้วย มีทรัพยากรตลอดจนสายการบินของตนเองระดับโลกรองรับ ดับฝันความเพื่องฟูที่เลบานอนเคยมีไปตลอดกาล