อับดุลเราะห์มาน อิบนุ อุมัร อัศศูฟีย์ นักดาราศาสตร์มุสลิมมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 903-986 ในยุคที่อำนาจของเคาะลีฟะห์วงศ์อับบาซิยะห์ได้เสื่อมลง และเกิดอาณาจักรต่างๆแยกตัวเป็นอิสระ

แม้ในช่วงแรกๆ นักดาราศาสตร์มุสลิมจะสนใจดาราศาสตร์ของอินเดีย แต่ดาราศาสตร์ของกรีกก็เริ่มเข้ามา นักวิชาการประจำหอสมุดบัยตุลฮิกมะห์แห่งแบกแดดมีบทบาทสำคัญในกรณีนี้

มุฮัมมัด อิบนุ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (เสียชีวิตประมาณ ปี ค.ศ. 850) หนึ่งในนักปราชญ์ที่ทำงานในหอสมุดบัยตุลฮิกมะห์ และหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ในมหานครแบกแดด ตลอดสมัยของเคาะลีฟะห์อัลมะมูน (ปกครองช่วงปี ค.ศ. 813-833)

ปัจจัยสำคัญที่มีทำให้ความรู้ทางดาราศาสตร์ รวมถึงศาสตร์ด้านอื่นๆ พัฒนาขึ้นในโลกอิสลามก็คือการที่ศาสนาอิสลามกำเนิดขึ้นในดินแดนที่อยู่ระหว่างอารยธรรมโบราณ อันได้แก่อารยธรรมลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย อารยธรรมเปอร์เซีย กรีกและโรมันในซีเรียและอารยธรรมลุ่มน้ำไนล์ในอียิปต์ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่สเปนจนถึงชายแดนจีนในเอเซียกลางและอินเดีย

บทความเรื่องนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่ามุสลิมในยุคกลางมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างไรบ้างต่อการพัฒนาศาสตร์ด้านนี้ของชาวยุโรปในเวลาต่อมา
ลักษณะสำคัญของการพัฒนาความรู้ทางดาราศาสตร์โดยมุสลิมในยุคกลางนั้นก็คือ

มุฮัมมัด อัลอิดรีซีย์ มีชีวิตระหว่างปี ค.ศ. 1100 – 1165 เกิดที่เมืองซับตะห์ บนฝั่งอัฟริกาเหนือ ศึกษาในเมืองคอร์โดบา ศูนย์กลางของมุสลิมในสเปน และเดินทางไปอัฟริกาเหนือ สเปน ข้ามเทือกเขาพิเรเนส ไปตามชายฝั่งตะวันตกของฝรั่งเศส ข้ามไปยังเกาะอังกฤษ ฮังการี และอนาโตเลีย