บทความ

holly1
ร้อยปีฮอลลีวูด กับอาหรับมุสลิม... จากความล้าหลังสู่ก่อการร้าย เพื่อ“ทำให้ฆ่าง่ายขึ้น”ความลับของฮอลลีวูดกับการบิดเบือนอาหรับ กับจุดขาวเล็กๆ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ตะวันตกนำเสนอภาพเชิงลบของชาวมุสลิม โดยได้รับการควบคุมจากศูนย์กลางอิทธิพลบางอย่างในอุตสาหกรรมนี้
ภาพยนตร์ฮอลลีวูด เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างแท้จริง และในปี 2019 เพียงปีเดียว สร้างรายได้มากกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์จากการขายตั๋วหนัง 11 พันล้านใบในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากการเผยแพร่ไปทั่วโลก

การขุดค้นศึกษาเรืออาหรับโบราณพนมสุรินทร์ จ.สมุทรสาคร โดยกรมศิลปากร ซึ่งค้นพบตั้งแต่ปี 2556 คืบหน้าไปมากในปีนี้ เรือลำนี้เป็นจิกซอร์หนึ่งที่จะปะติดปะต่อให้เห็นความมั่งคั่งของเครือข่ายการค้าทางทะเลระหว่างจีนและอาหรับในอดีตซึ่งดินแดนต่างๆ ในน่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปมีส่วนร่วม 

อัฟกานิสถานกำเนิดขึ้นจากอาณาจักรดุรรอนีย์ ก่อตัวขึ้นในปี 1747 ตั้งตนเป็นอิสระหลังจักรวรรดิ์โมกุลเสื่อมอำนาจ ช่วงพีคที่สุดของอาณาจักรนี้ สามารถแผ่ขยายครอบคลุมดินแดนของอิหร่านทางตะวันออก บางส่วนของทาจิกิสถาน ปากีสถาน และตอนเหนือของอินเดียในปัจจุบัน (เคยบุกยึดเดลฮี)

● บทความโดย ฮัมซะฮ์ เทเกน
● อ่านต้นฉบับ
ตุรกีเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเริ่มต้นเดิอนรอมฎอน วันอีดิลฟิตร์ อีดิ้ลอัฎฮา ล่วงหน้าเป็นเวลานับปี โดยไม่รอการเห็นจันทร์เสี้ยวตามวันเวลาดังกล่าว
ที่มาที่ไปเป็นอย่างไร อ่านมุมมองตุรกี กับการกำหนดวันสำคัญทางศาสนาผ่านระบบเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ บทความโดย ฮัมซะฮ์ เทเกน
《《《《 》》》》》
ชาวมุสลิมจะเห็นต่างกันทุกปีในประเด็นเรื่องจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอน และการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเดือนรอมฎอนและเชาวัล
บางครั้งความแตกต่างและความไม่ลงรอยกัน อาจเกิดขึ้นเป็นเวลาจำนวนหลายวัน
หลายประเทศประกาศการเริ่มต้นของเดือนฮิจเราะห์โดยอาศัยการคำนวณทางดาราศาสตร์
อีกหลายประเทศประกาศการเริ่มต้นของเดือนในวันอื่นด้วยการดูจันทร์เสี้ยว
ในขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศที่สามก็ประกาศการเริ่มต้นของเดือนในอีกวันหนึ่งตามการเห็นจันทร์เสี้ยวเช่นกัน
เราสามารถพูดได้ว่าความขัดแย้งนี้ยังคงเกิดขึ้นในโลกอิสลาม ไม่เพียงแต่ในเดือนรอมฎอนและเชาวัลเท่านั้น แต่เป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้น 12 ครั้งทุกๆปี
น่าเสียดายที่สิ่งนี้เกิดขึ้น ในขณะที่มนุษยชาติมีการพัฒนาเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และความรู้ที่น่าทึ่ง
การคำนวณทางดาราศาสตร์หมายถึงอะไร และมันขัดแย้งกับซุนนะห์ของศาสดาหรือไม่ และอะไรคือความจำเป็นอย่างไรสำหรับมุสลิมในเวลานี้
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการคำนวณทางดาราศาสตร์เชิงตัวเลขทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีที่เชื่อถือได้แน่นอน-กอตอีย์-และไม่มีข้อสงสัยในการพิสูจน์เดือนฮิจเราะห์ และสิ่งที่เชื่อถือได้แน่นอน-กอฏอีย์ย่อมมีน้ำหนักมากกว่าสิ่งที่คาดการณ์-ซอนนีย์-
และเป็นสิ่งวายิบต้องยอมรับโดยการเทียบเคียงสิ่งที่สมควรยิ่งกว่า -กิยาสเอาลา- หมายถึง การที่ซุนนะฮ์บัญญัติให้ประชาชาติอิสสามยึดถือสิ่งที่มีน้ำหนักน้อยกว่าและมีโอกาสผิดพลาดมากกว่า อันหมายถึง การเห็นด้วยตา ย่อมไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธเครื่องมือที่สมบูรณ์กว่าในการบรรลุเป้าหมาย อันหมายถึง การคำนวณเชิงดาราศาสตร์ดิจิทอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาสดา เป็นปรมาจารย์แห่งวิชาความรู้ การอ่าน การวิจัยการพัฒนาและความก้าวหน้า
และยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของแตกแยกของชาวมุสลิมในปัจจุบัน การสูญเสียเอกภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของพวกเขา พวกเขาจะต้องยึดถือในสิ่งที่แน่นอนและนำมาใช้ โดยหวังว่าความสามัคคีของพวกเขาจะกลับคืนมา แม้ว่าเป็นเพียงกรณีเดียวจากอีกหลายกรณีที่พวกเขาควรจะรวมกัน ...
อย่างน้อยที่สุด กรณีการกำหนดเดือนฮิจเราะห์จะนำพาสู่บางเสี้ยวของความสามัคคีที่หายไปในสังคมมุสลิมปัจจุบัน
ความสามัคคีในหมู่ชาวมุสลิมเป็นความปรารถนา ความพยายาม เป้าหมายและความหวัง ที่สูงส่งของท่านศาสดาผู้เสียสละชีวิตเพื่อเห็นแก่ความสามัคคีของชาวมุสลิม ศาสดาที่คำสั่งเสียสุดท้ายของท่านคือเอกภาพของมุสลิมและพวกเขาจะไม่แตกแยกกันหลังจากยุคของท่าน อย่างน้อยที่สุด กรณีการกำหนดเดือนฮิจเราะห์จะนำพาสู่บางเสี้ยวของความสามัคคีที่หายไปในสังคมมุสลิมปัจจุบัน ที่สร้างความร้าวรานแก่ท่านศาสดา
จากอบูฮุรัยเราะฮ์ ท่านนบี ศอลฯ กล่าวว่า
”صوموا لرؤيته – أي الهلال – وأفطروا لرؤيته، فإن أغبي عليكم فأكملوا عِدّة شعبان ثلاثين”.
“จงถือศีลอดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว และจงออกอีดด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่าน ก็จงนับจำนวนเดือนชะบานให้ครบสามสิบวัน”
จากอิบนุอุมัร ท่านรอซูล ศอลฯ กล่าวว่า
”لا تصوموا حتى تروا الهلالَ، ولا تُفطروا حتى تروه، فإن غمَّ عليكم فاقدروا له”
“จงอย่าถือศีลอดจนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว และจงอย่าออกอีดจนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่านก็จงคำนวณเพื่อสิ่งนั้น”
จากหะดีษทั้งสองนี้ เราสามารถรับรู้ได้ว่าศาสนาอิสลามกำหนดวิธีพิสูจน์เดือนฮิจเราะห์ด้วยวิธีการพื้นๆ ง่ายๆ ซึ่งไม่มีทางเลือกอื่นใดในเวลานั้น อันหมายถึงการมองเห็นด้วยตาโดยตรง ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่มุสลิมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนต้นของยุคอิสลาม ที่ผู้คนไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
ในทำนองเดียวกัน มวลมนุษยชาติก็ยังไม่ถึงยุควิทยาศาสตร์ที่สามารถกำหนดวินาที หรือเสี้ยววินาทีที่มีจันทร์เสี้ยวเกิดขึ้นในเดือนฮิจเราะห์ทุกๆเดือน
หะดีษทั้งสองนี้ มีการอธิบายแตกต่างกันไปคนละแนว โดยเฉพาะกรณีจำนวนคนที่เห็นจันทร์เสี้ยวที่สามารถใช้อ้างอิงได้ อันทำให้เกิดความเห็นต่างอื่นๆตามมาอีกมากมาย
ตอนท้ายหะดีษมีประเด็นสำคัญมากที่ทำให้เราทราบเกี่ยวกับหัวข้อ "การคำนวณทางดาราศาสตร์เชิงตัวเลขและการกำหนดเวลาของดวงจันทร์ใหม่" ที่เรากำลังพิจารณา และเป็นประเด็นที่อิหม่ามอบูอับบาส อิบนุสุรัยจ์ ได้ให้ความหมาย 2 สายรายงานอย่างแตกต่างกัน ดังที่อิบนุลอะรอบีย์ รายงานว่าคำพูดของท่านว่า คำว่า "فاقدروا له - จงคำนวณ" เป็นคำสั่งต่อผู้ที่พระเจ้าประทานความรู้ และคำว่า “ أكملوا العدة - จงนับให้ครบถ้วน ” เป็นคำสั่งต่อคนทั่วไป
ดังนั้น เราสามารถให้ความหมายของคำว่า "فاقدروا له - จงคำนวณ" ในหะดีษของท่านนบี ศอลฯ ว่าหมายถึง การใช้วิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าและความรู้ที่มนุษยชาติไปถึง และนี่คือสิ่งที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในยุคของเรา ..
ขอให้เราตระหนักไว้ว่า หนึ่งในปาฏิหาริย์ของท่านศาสดา คือท่านมี วาจาสั้นแต่ใจความครอบคลุม ในคำสองคำของท่าน เราสามารถค้นพบความรู้ วิทยาศาสตร์และสัญญาณมากมายสำหรับผู้เข้าใจสัญญาณต่างๆ
นั่นคือเหตุผลที่กล่าวกันว่า : ความแตกต่างของถ้อยคำบ่งบอกถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเป็นพื้นฐานสำหรับหลัก "การฟัตวาตามเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของเวลา สถานที่และสถานการณ์"
ในที่นี้เราขอกล่าวถึงคำพูดของท่านนบี ศอลฯ ที่ว่า
إنا أمة أمية، لا نكتب ولا نحسب
“ เราเป็นประชาชาติที่ไม่รู้หนังสือ เราเขียนไม่เป็นและคำนวณไม่เป็น”
เป็นหะดีษที่บางคนอ้างในการปฏิเสธความถูกต้องของการพึ่งพาการคำนวณทางดาราศาสตร์แบบดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเดือนฮิจเราะห์ โดยเฉพาะจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นการอ้างที่ผิดพลาด
● ทำไมจึงผิดพลาด ?
● ประการแรก บริบทของหะดีษนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง - ดังที่เราได้กล่าวไว้ในตอนต้นของบทความ - ที่มุสลิมไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงรวมถึงมวลมนุษยชาติ ดังนั้นจึงไม่มีทางที่จะกำหนดจันทร์เสี้ยวได้ ยกเว้นโดยการมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงเป็นภูมิปัญญาของชะรีอะฮ์ที่แท้จริงที่ให้พึ่งพาวิธีการดูอันเป็นวิธีการกำหนดเดือนใหม่วิธีเดียวนี้ในเวลานั้น มิฉะนั้นมุสลิมจะกำหนดดวงจันทร์ใหม่ของเดือนในช่วงเวลานั้นได้อย่างไร!
บางคนกล่าวว่า ท่านนบี ศอลฯ ไม่ได้กล่าวถึงการคำนวณเกี่ยวกับดวงจันทร์ใหม่ แต่กล่าวถึงการเห็นด้วยตา และเราได้ชี้แจงชัดเจนแล้วว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นตามเครื่องมือเท่าที่มี โดยหลักการ เครื่องมือต่างๆ คือสิ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปใช้เพื่อการบรรลุเป้าหมายเดียวกัน การดูด้วยตาจึงเป็นเครื่องมืออันเป็นผลมาจากสภาพความเป็นจริงของมุสลิมในยุคแรก
หากชารีอะฮ์ขอให้ชาวมุสลิมในยุคแรกกำหนดเดือนฮิจเราะห์โดยการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ก็จะสร้างความยากลำบากอย่างยิ่งให้แก่พวกเขา และอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ก็ได้ .. กฎหมายอิสลามมีเหตุมีผลและไม่ใช่ตามอำเภอใจสุ่มสี่สุ่มห้า
หะดีษที่ว่า “ เราเป็นประชาชาติที่ไม่รู้หนังสือ เราเขียนไม่เป็นและคำนวณไม่เป็น“พูดถึงความเป็นจริงของสังคมมุสลิมในยุคแรก เรื่องราวของท่านนบีขอให้เชลยศึกนักโทษและมุสลิมที่มีการศึกษา ทำการสอนการอ่านและการเขียนให้กับมุสลิมที่ไม่รู้หนังสือ เป็นข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุดในเรื่องนี้..
นอกจากนี้หะดีษนี้ไม่ได้หมายถึงความไม่รู้นิรันดร์ของอุมมะห์ เพราะที่กล่าวถึงนั้นเป็นการพรรณนาถึงความเป็นจริงในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
หลักฐานก็คือ ผู้ที่กล่าวหะดีษนี้ ได้พยายามทุ่มเททำงานหามรุ่งหามค่ำ เสียสละ เพื่อประโยชน์ในการสร้างอุมมาห์นี้ รวมถึงการพัฒนา ให้ความรู้แก่เยาวชน และนำพวกเขาออกจากความมืดสู่ความสว่าง ซึ่งความมืดไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธพระเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงความอวิชา และความสว่าง ไม่ได้หมายถึงความศรัทธาอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง วิชาความรู้ การอ่านและการพัฒนาอีกด้วย
ดังนั้นด้วยเหตุผลและตรรกะ ท่านศาสดา ศอลฯ ตระหนักดีว่าสักวันหนึ่ง ประชาชาตินี้และมนุษยชาติจะไปถึงความรู้และการคำนวณขั้นสูง ดังนั้นท่านจึงกล่าวไปยังผู้ที่มีความรู้ในเวลาต่อมาว่า “จงคำนวณ” (ดังที่เรากล่าวถึงและอธิบายไว้ข้างต้นแล้ว)
แต่เรื่องราวของดาราศาสตร์และดวงจันทร์ดวงใหม่ที่เราพูดถึงในที่นี้เกี่ยวข้องกับโหราศาสตร์อย่างที่บางคนคิดเมื่อได้ยินคำว่า“ การคำนวณทางดาราศาสตร์” หรือไม่!
บางคนเมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า“ การคำนวณทางดาราศาสตร์” ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของเรา ก็คิดว่านั่นคือการปฏิเสธศาสนาและเป็นการละทิ้งคำพูดของศาสดา ศอลฯ และพวกเขาคิดว่า นั่นหมายถึงกระบวนการที่ซับซ้อนของเวทมนตร์ การเผาเครื่องหอมและการเผาใบไม้ ต้นไม้ ในห้องมืดโดยมีบางอย่างจากเตาผิงที่มุมห้อง มีหมอผีคนหนึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางสิ่งเหล่านี้โดยมีผ้าคลุมศีรษะอยู่ รอดูวันที่และช่วงเวลาของการเกิดพระจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอนหรือเชาวัล หรือซุลฮิจญะฮ์ โดยอาศัยกระบวนการ "การคำนวณทางดาราศาสตร์" ที่ซับซ้อนนี้!
หรือบางคนเมื่อได้ยินคำว่า "การคำนวณทางดาราศาสตร์" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา ก็คิดว่าพวกเขากำลังนั่งอยู่บนยอดเขาภายใต้ร่มเงาของบรรยากาศที่ปลอดโปร่งเพื่อดูดวงดาวบนท้องฟ้าและนับและคำนวณเพื่อหาคำตอบ เวลาเกิดของวงเดือนฮิจเราะห์
และอีกบางส่วน เมื่อเขาได้ยินคำว่า "การคำนวณทางดาราศาสตร์" ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของเรา เขาคิดว่ามันเป็นกระบวนการทางโหราศาสตร์ที่ดำเนินการโดยนักโหราศาสตร์คนหนึ่งในขณะที่เขานั่งบนเก้าอี้ตัวใหญ่และเสียบสิ่งแปลก ๆ ต่างๆเพื่อให้ทราบ เวลาเกิดของเดือนฮิจเราะห์ใหม่
แต่ความจริงคือ “ การคำนวณทางดาราศาสตร์” ในหัวข้อของเรา หมายถึงวิทยาศาสตร์ ความรู้เทคโนโลยี และการพัฒนาปัญญา ที่นำมนุษย์ไปสู่สิ่งที่เขาได้มาถึงในปัจจุบันในด้านความรู้และวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอวกาศไม่ใช่โหราศาสตร์ เวทมนตร์และการคำนวณโดยอาศัยดวงดาวที่อิสลามได้ประณาม
ในปัจจุบัน เราทุกคน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีความรู้ขั้นสูง - ต่างรู้ว่ามนุษยชาติได้มาถึงช่วงเวลาทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง ซึ่งอัตราความผิดพลาดเกี่ยวกับการคำนวณทางดาราศาสตร์ดิจิทัลและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์นั้นน้อยกว่าหนึ่งในล้านต่อวินาที ดังนั้นเราจึงเชื่อมั่นอย่างสูงยิ่งต่อวิทยาศาสตร์นี้ด้านนี้ เมื่อได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ อุกกาบาต ดวงอาทิตย์ ดวงดาว สภาพอากาศ เมฆ ความร้อน และพายุใหญ่ เรารับรู้และเชื่อมั่นในข้อมูลที่แม่นยำของวิทยาศาสตร์ด้านนี้แม้ในเรื่องระดับเวลาเสี้ยววินาที จากนั้นเมื่อระบุเกี่ยวกับข้อมูลการเกิดของเดือนฮิจเราะห์ ซึ่งเป็นข่าวจริงที่มีความถูกต้องเช่นเดียวกับข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เรากลับปฏิเสธและไม่ยอมรับ ภายใต้การอ้างอิงหะดีษที่สามารถตีความทางวิชาการได้หลายแนว ดังที่เรากล่าวถึงก่อนหน้านี้เล็กน้อย
การตีความทางวิชาการกล่าวว่า การเห็นจันทร์เสี้ยวอาจเกิดขึ้นด้วยวิธีคำนวณด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านนบี ศอลฯ แบ่งแยกระหว่าง 2 วิธี โดยกล่าวถึงทั้งสองว่า : " فاقدروا له " “ จงคำนวณ ” และ " أكملوا العدة “ จงทำให้สมบูรณ์”
ราวกับคำพูดของท่าน ที่ว่า " فاقدروا له " “ จงคำนวณ ” “ เป็นสัญญาณทางเทคโนโลยีจากท่านนบี ศอลฯ ผู้เป็นนายทางวิชาการทั้งมวล ผู้เรียกร้องสู่ศาสนาแห่งความรู้การพัฒนา ความก้าวหน้าและอารยธรรม
อบุลอับบาส อิบนุสุรัยจ์ หนึ่งในผู้นำในมัซฮับชาฟิอีย์กล่าวว่า “คนที่รู้การคำนวณและตำแหน่งของดวงจันทร์ ถ้าเขารู้จากการคำนวณว่าพรุ่งนี้เป็นเดือนรอมฎอน การถือศีลอดก็จำเป็นสำหรับเขา เพราะเขารู้การเริ่มต้นของเดือนด้วยหลักฐาน ดังนั้นจึงเปรียบได้ดังการรู้ด้วยพยาน"
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน การที่อุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์และมัซฮับอื่นๆ ทั้งในยุคก่อนและยุคหลัง ปฏิเสธวิชา "การดูดาวแบบโหราศาสตร์" มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิเสธการอ้างความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มองไม่เห็น การแสวงหาสิ่งปรารถนาและการอ้างว่ามีอำนาจ แต่ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิเสธวิทยาศาสตร์และความรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ตัวเลขทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ได้จริงและพัฒนาการทางเทคโนโลยี
เรายอมรับและชื่นชมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีและเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ เช่นในเรื่องเกี่ยวกับรถยนต์ สมาร์ทโฟน กล้องถ่ายรูป เครื่องเสียง เครื่องจักรที่ให้บริการผู้คน หุ่นยนต์เครื่องบิน และคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็ปฏิเสธการพัฒนาการนี้หากเกี่ยวข้องกับการพิจารณาถึงวินาทีที่เกิดจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอนและจันทร์เสี้ยวของทุกๆเดือนฮิจเราะห์
หมายถึง เราเชื่อและยอมรับว่ามนุษย์ได้ไปถึงดาวเคราะห์มากมาย และเรายังภาคภูมิใจในข่าวนี้เมื่อมันแพร่กระจาย และเราไม่เชื่อมนุษย์คนเดียวกันนี้ว่าสามารถกำหนดวินาทีการเกิดดวงจันทร์ของเดือนฮิจเราะห์ได้ !
ดังนั้นสิ่งที่ถูกปฏิเสธคือ โหราศาสตร์ เวทมนตร์คาถาอาคมและไสยศาสตร์ ไม่ใช่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ขัดแย้งกับศาสนาอิสลามและการกำชับของท่านศาสดา ศอลฯ
ดังนั้น เราจึงกล่าวได้ว่า ดาราศาสตร์สมัยใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีและความรู้ที่แม่นยำในระดับวินาทีในการคำนวณการเคลื่อนไหวของดวงจันทร์ ดวงดาว และดาวเคราะห์ต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่เราเห็นด้วยตา และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่แน่นอน ที่ใช้เป็นหลักฐานเพื่อทราบวินาทีที่จันทร์เสี้ยวเกิดในทุกๆเดือนฮิจเราะห์ เป็นศาสตร์ที่สอดคล้องกับข้อแนะนำของศาสดาที่กล่าวกับผู้เชี่ยวชาญว่า " فاقدروا له " “ จงคำนวณ ” “
การคำนวณตามกฎทางวิทยาศาสตร์เป็นวิธีการใหม่ที่มนุษยชาติเพิ่งค้นพบ คนสามารถบรรลุเป้าหมายที่แน่นอนที่ต้องการไปถึง .. กล่าวอีกนัยหนึ่งการคำนวณเหล่านี้เป็นวิธีการขั้นสูงมากกว่าการเห็นด้วยตาอันเป็นวิธีการเก่าก่อน และทั้งสองวิธีสามารถบรรลุเป้าหมายคือการทราบการเกิดของดวงจันทร์และการกำหนดช่วงเวลาของเดือนฮิจเราะห์
นัหฟิกฮ์และนักวิชาการหลายคนกล่าวว่า หะดีษของท่านนบี ศอลฯ ที่ว่า
صوموا لرؤيته وأفطروا لرؤيته، فإن غم عليكم فاقدروا له
“จงถือศีลอดเมื่อเห็นมัน(จันทร์เสี้ยว) และจงออกอีดเมื่อเห็นมัน แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่านก็จงคำนวณเพื่อสิ่งนั้น”
และในรายงานอื่น กล่าวว่า
فإن غم عليكم فأكملوا عدة شعبان ثلاثين
"แต่ถ้าหากมันไม่ปรากฏให้เห็นแก่พวกท่าน ก็จงนับจำนวนเดือนชะบานให้ครบสามสิบวัน”
ได้กำหนดเป้าหมายและวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
○ เป้าหมายได้แก่ : ถือศีลอดเดือนรอมฎอนอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีการขาด และรู้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเดือน
○ วิธีการ : การมองด้วยตาโดยการมองไปบนท้องฟ้า เนื่องจากไม่มีวิธีอื่นในช่วงเวลานั้น และเป็นวิธีที่ไม่ยากลำบากสำหรับมุสลิมยุคแรก ซึ่งวิธีการนอกจากนี้ เช่น การคำนวณทางดาราศาสตร์ เป็นต้น จะทำให้เกิดปัญหาในยุคนั้นอย่างแน่นอนเพราะเป็นวิธีการที่ไม่สามารถใช้ได้ทุกคน ... เราทุกคนก็รู้หะดีษนบี ที่ว่า
” يسِّروا ولا تعسِّروا”.
“ จงทำให้เป็นเรื่องง่ายและอย่าทำให้ยาก”
นี่คือประเด็นสำคัญ
หากมีวิธีการอื่นที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ดีกว่านี้ก็สามารถนำไปใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ขัดแย้งกับหลักกฎหมายอิสลาม
นี่เป็นกฎเกณฑ์ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตในที่ทำงาน ที่บ้าน การซื้อการขาย การแต่งงาน การค้า การอุตสาหกรรม การทหาร หรือการเมือง
สำหรับประเด็นของเรา เรามีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงที่ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์ของศาสนา หากทว่ายังเข้ากันได้ดี ดังเหตุผลเราได้นำเสนอข้างต้น ดังนั้น เราสามารถใช้การคำนวณทางดาราศาสตร์ดิจิทัลทางเทคโนโลยีเรา เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ท่านนบีต้องการ นั่นคือการกำหนดดวงจันทร์ใหม่ การเข้าและออกจากเดือนรอมฎอน ตลอดจนช่วงเวลาอื่นๆของเดือนฮิจเราะห์
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเรารู้ว่านักฟิกฮ์บางส่วนเห็นว่า การยืนยันดวงจันทร์ใหม่เกิดขึ้นทันทีที่มีคนเห็นจันทร์เสี้ยวเพียงคนเดียว ในขณะรายงานของนักฟิกฮ์อื่น ๆ กล่าวว่า การยืนยันดวงจันทร์ใหม่เกิดขึ้นทันทีที่มีคนเห็นจันทร์เสี้ยวจำนวน 2 คน
ดังนั้น เราอาจใช้ทัศนะใดจากทั้งสองนี้ ซึ่งอาจผิดพลาดได้ แต่เรากลับปฏิเสธเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์และความรู้ที่มีคนเห็นจันทร์เสี้ยวด้วยการมีส่วนร่วมของนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายพันคน ที่สามาถเห็นจันทร์เสี้ยวในวินาทีแรกของการเกิดโดยไม่มีข้อผิดพลาดหรือโกหก
เราไม่ได้ดูแคลนวิธีการแรกแต่อย่างใดทั้งสิ้น แต่เราขอพูดว่า : ปัจจุบัน สิ่งต่าง ๆ ได้พัฒนาไปและวิธีการได้เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายของท่านนบี ศอลฯ
เราเป็นประชาชาติแห่งความรู้!
นักวิชาการร่วมสมัยคนหนึ่งกล่าวโดยมดเท็จว่า หะดีษที่เรากล่าวถึงในตอนต้นของบทความนี้ คือ
إنا أمة أمية، لا نكتب ولا نحسب
“ เราเป็นประชาชาติที่ไม่รู้หนังสือ เราเขียนไม่เป็นและคำนวณไม่เป็น”
ทำให้มุสลิมไม่สนใจและปฏิเสธการคำนวณ
เราขอบอกกับชีคคนนี้ว่า ถ้าคำพูดของท่านถูกต้อง การอ่านเขียนก็จะต้องถูกทิ้งไปเช่นกัน
ทำไมท่านจึงไม่ยอมรับการคำนวณ แต่ยอมรับการเขียนแต่เพียงอย่างเดียว ทั้งๆที่ทั้งสองนั้นอยู่ในหะดีษเดียวกัน ซ้ำยังอยู่ในบรรทัดเดียวกัน!
โอชีค! ดังที่เราได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ หะดีษดังกล่าวกำลังอธิบายสถานการณ์เฉพาะสำหรับชาวมุสลิมในช่วงเวลาหนึ่ง และไม่ได้หมายความว่าชาวมุสลิมยังคงเพิกเฉยโดยไม่เขียน ไม่มีความรู้ ไม่มีการคำนวณ ไม่มีการพัฒนาและไม่มีเทคโนโลยี ..
ท่านชีคครับ คอมพิวเตอร์ ที่ท่านเขียนคำพูดนี้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยการคำนวณ
ไมค์โครโฟนที่ท่านพูดคำพูดนี้ก็ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้โครงสร้างของเลขคณิต
กล้องที่คุณใช้ในการถ่ายภาพบอกคำพูดนี้ ก็สร้างขึ้นมาจากการคำนวณ!
แต่ท่านกลับมาบอกว่า การคำนวณเป็นสิ่งที่สังคมมุสลิมปฏิเสธ พร้อมกล่าวหาว่า เพราะเป็นชนชาติที่ไม่มีวิชาความรู้
โอชีค! จงรู้ไว้ว่าศาสดา ศอลฯ อธิบายถึงสภาพความเป็นจริงที่เฉพาะเจาะจงในหะดีษนี้ แต่ท่านก็เป็นคนเดียวกับที่ทำงานและมุ่งมั่นที่จะสอนให้ชาวมุสลิมรุ่นแรกเขียนเป็น สารที่ชัดเจนจากท่าน คือจะบอกว่า เมื่อพวกท่านเรียนรู้ที่จะเขียน ก็ให้พวกท่านเรียนรู้การคำนวณ และวิทยาการอื่นๆ ที่จะตามมาในภายหลังด้วยเช่นกัน!
นี่คือสิ่งที่ชาวมุสลิมทำในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาทำให้เป็นผู้นำสังคมโลกด้วยวิทยาศาสตร์ขั้นสูง
พวกเขาไม่เคยบอกว่า เราไม่ต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์ การเขียนและการคำนวณโดยอ้างหะดีษดังกล่าว !
เทคโนโลยีในปัจจุบันซึ่งกำหนดเวลาการเกิดของเดือนฮิจเราะห์อย่างละเอียดในระดับวินาที เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของชาวมุสลิม และเป็นวิวัฒนาการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้นในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา
การเรียกร้องของชีคคนนี้เป็นการเรียกร้องสู่ความไม่รู้ เป็นการเรียกร้องของไส้ศึกเพื่อให้ชาวมุสลิมรั้งท้ายประเทศที่พัฒนา
ขอให้เราระวังบุคคลเช่นนี้ให้มาก
เราสรุปโดยขอเน้นว่า การคำนวณทางดาราศาสตร์ที่เราได้อธิบายไว้ในบทความนี้ไม่ขัดแย้ง - ตามมุมมองของเรา - กับซุนนะห์ของท่านศาสดา หากทว่ายังสอดคล้องโดยสมบูรณ์ ละยังบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของท่านนบี ศอลฯ ที่ต้องการให้มุสลิมถือศีลอดและละศีลอดตรงกัน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เดียวกัน ที่ถือศีลอดและละศีลอดไม่ตรงกัน
ด้วยวิธีการดังกล่าว อย่างน้อยเราก็ประสบความสำเร็จในการบรรลุความเป็นหนึ่งเดียวในบางมิติในหมู่ชาวมุสลิม ตราบเท่าที่ยังไม่มีความสามัคคีที่ยิ่งใหญ่ในทุกด้าน
บทความนี้เป็นข้อเขียนพื้นๆเกี่ยวกับปัญหาที่กว้างใหญ่ไพศาลประดุจมหามมุทร เป็นเสมือนคำเชิญให้ค้นคว้าเพิ่มเติมและเจาะลึกปัญหานี้โดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีอำนาจตัดสินใจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดความแตกแยกของชาวมุสลิมในส่วนเล็ก ๆ
อัลลอฮ์พระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพคือผู้รู้ดีที่สุด
 
 

เมืองอักดามก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 18  ในยุคสหภาพโซเวียตนั้น เมืองนี้เคยหนาแน่นไปด้วยผู้คนเกือบสี่หมื่นคน เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม ที่ตั้งของสถานีรถไฟและโรงงานผลิตเครื่องจักร ตั้งอยู่ห่างประมาณ 26 กม.จากเมืองคาเคนดี(สเตฟานะเกิร์ต) เมืองเอกของภูมิภาคนากอร์โนคาระบัค
 

วันนี้ (2 ตุลาคม) เมื่อปี ค.ศ.1187 เป็นวันที่เศาะลาฮุดดีน​ อัล-อัยยูบีย์​หรือชื่อตามที่ตะวันตกเรียกว่าซาลาดิน นำกองทัพเข้ายึดอัลกุดส์หรือเยรูซาเล็มกลับคืน หลังจากถูกยึดครองโดยกองทัพครูเสดนานถึง 88 ปี

○ บทความโดย บารออ์ นิซาร ไรยาน
อาจารย์ด้านหะดีษ สาขาอุศูลุดดีน มหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า
● ความวุ่นวายทางการเมือง
นอกจากสงครามแล้ว ความวุ่นวายทางการเมืองและบ้านเมืองสุ่มเสี่ยงต่อภัยอันตราย ก็ทำให้การละหมาดวันศุกร์และละหมาดญามาอะฮ์หยุดชะงักลงเช่นเดียวกัน

ไม่กี่วันหลังจากมีข่าวว่าโรงพยาบาลฝรั่งเศสบางแห่งได้นำอุปกรณ์ช่วยหายใจออกจากผู้ป่วยชาวต่างชาติและนำไปให้ผู้ป่วยชาวฝรั่งเศส และข่าวผู้นำบางคนของฝรั่งเศสเรียกร้องให้ใช้ชาวแอฟริกาเป็นหนูทดลองวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรน่า

○ บทความโดย บารออ์ นิซาร ไรยาน
อาจารย์ด้านหะดีษ สาขาอุศูลุดดีน มหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า

○ บทความโดย บารออ์ นิซาร ไรยาน
อาจารย์ด้านหะดีษ สาขาอุศูลุดดีน มหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า
● สงครามทำลายล้าง
การสงครามก็เคยขัดขวางการละหมาดและการประกอบศาสนกิจในมัสยิดต่างๆ รวมถึงศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามก็ไม่รอดพ้น

ในสถานการณ์ที่โลกการประกอบอาชีพหยุดชะงัก กิจการต่างๆ ทั่วโลกระส่ำระสาย ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องหยุดกิจการอันเนื่องจากไวรัสโคโรน่า รัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวห้ามออกจากบ้าน หลายครอบครัวตกงาน ไม่มีแม้แต่ที่ซุกหัวนอน ต้องนอนกลางถนน เพราะไร้บ้าน ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน และความเดือดร้อนนานา

○ สรุปสาระบทความ บารออ์ นิซาร ไรยาน
อาจารย์ด้านหะดีษ สาขาอุศูลุดดีน มหาวิทยาลัยอิสลาม กาซ่า
● เลื่อนงานรื่นเริงออกไปก่อน
กาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ในอียิปต์ ช่วงปี ฮ.ศ.749/ค.ศ.1348 ซึ่งเป็นที่รู้จักในยุโรปในนาม "Black Death-ความตายสีดำ"