“ทันทีที่มีการประกาศตั้งประเทศอิสราเอล บรรดาชาติอาหรับซึ่งมีกำลังเหนือกว่าก็ยกทัพหวังบดขยี้อิสราเอลให้พินาศ แต่อิสราเอลสามารถเอาชนะศัตรูผู้รุกรานได้”
เรื่องนี้ถูกอ้างอิงเสมอเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ข้อเท็จจริงคือฝ่ายอาหรับมีกำลังพลและอาวุธด้อยกว่า ซ้ำยังมีความแตกแยกกันเอง โดยเฉพาะระหว่างอียิปต์และจอร์แดน

1. ประเทศอาหรับรอบข้างเพิ่งจะได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม จอร์แดนในปี 1946 เลบานอนในปี 1943 แต่ทหารฝรั่งเศสยังประจำอยู่ในประเทศจนถึงปี 1946 ปีเดียวกับที่ซีเรียได้รับเอกราช และแม้อียิปต์จะได้รับเอกราชตั้งแต่ปี 1922 แต่ก็ยังอยู่ใต้อิทธิพลอังกฤษจนกระทั้งอังกฤษถอนทหารจากคลองสุเอสในปี 1945 ส่วนปาเลสไตน์ในฐานะอาณานิคมอังกฤษมีผู้นำคือ Hajj Amin al-Husseini

2 2

[รูปที่ 1 วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 เบนกูเรียนประกาศจัดตั้งรัฐอิสราเอล]


แม้ชาติอาหรับจะร่วมกันจัดตั้งสันนิบาตอาหรับในปี 1945 แต่ทั้งหมดไม่ค่อยจะไว้ใจกษัตริย์อับดุลลอฮที่ 1 แห่งจอร์แดน ซึ่งทะเยอทะยานจะรวบรวมอาหรับให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้อำนาจของตน และหวังจะยึดเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวง พระองค์มาจากวงศ์ฮาชิมิยะห์ที่สืบเชื้อสายจากเผ่ากุรอยช์ อาหรับเผ่าเดียวกับท่านศาสดา(ศ็อลฯ ) และเป็นผู้นำอาหรับร่วมกับลอเรนซ์แห่งอราเบียลุกฮือต่อต้านออตโตมันช่วงปี 1916-18

2 3  [รูปที่ 2 กษัตริย์อับดุลลอฮฺ ที่ 1 แห่งจอร์แดน]

ในการเจรจาอย่างลับๆกับผู้แทนยิว ซึ่งในคณะมีนาง Golda Meir อยู่ด้วย (ต่อมานางได้เป็นนายกยิว) ทำให้รู้ว่าพระองค์ต้องการผนวกเขตเวสต์แบงค์และเยรูซาเลมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ทั้งสองมีศัตรูร่วมกันคือ Haj Amin al-Husseini มุฟตีแห่งเยรูซาเลม พระองค์ให้สัญญาว่าไม่ส่งกำลังทหารเข้าไปยังพื้นที่ที่ UN แบ่งให้เป็นเขตของอิสราเอล บันทึกของ Meir ระบุว่า He soon made the heart of the matter clear: he would not join in any Arab attack on us. He would always remain our friend, he said, and like us, he wanted peace more than anything else. After all, we had a common foe, the Mufti of Jerusalem, Haj Amin al-Husseini.'"(Israel: A History, p.149-150)


2. กำลังทหารของฝ่ายอาหรับด้อยกว่าทั้งทางด้านกำลังพลและอาวุธ แม้จะมีประชากรมากกว่า แต่กำลังที่ติดอาวุธซึ่งเข้าร่วมสงครามมีน้อยกว่า ตั้งแต่ตอนเริ่มต้นสงครามจนสิ้นสุด [อ้างอิงจาก Gelber, Yoav (2006). Palestine 1948. War, Escape and the Emergence of the Palestinian refugee Problem] ประเมินว่าตอนเริ่มต้นสงคราม ฝ่ายอาหรับมีไม่เกิน 13,000 คน และเพิ่มเป็นระหว่าง 50 - 63,000 คน ตอนสิ้นสุดสงคราม ขณะที่ฝ่ายอิสราเอลระดมกำลังได้ถึงสามหมื่นคนตอนเริ่มต้น และเพิ่มเป็นกว่าแสนคนตอนสงครามใกล้จบ
ในหนังสือ The Sword And The Olive โดย Martin Van Creveld นักประวัติศาสตร์และอดีตนายทหารยิว ระบุว่าในช่วงเดือนตุลาคม ตอนสงครามถึงจุดดุเดือดที่สุด ฝ่ายยิวมีกำลังพลถึง 90,000 นาย ขณะที่อาหรับมีเพียง 68,000 นาย

กำลังหลักของฝ่ายอาหรับมาจากอียิปต์และอิรัค(10,000+3,000) ประสบปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุงเพราะอยู่ไกลจากฐานปฏิบัติการในประเทศ อาวุธยุทโธปกรณ์ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะชาติตะวันตกคว่ำบาตรห้ามส่งอาวุธเข้าเขตสงคราม นอกนั้นมีทหารซีเรีย เลบานอน(หลักพัน) ซาอุฯหลักร้อยและอยู่ใต้บัญชาการของอียิปต์ ยังมีกำลังพลน้อยนิดจากซูดาน เยเมนและโมรอคโค กำลังที่ดีที่สุดและได้รับการฝึกแบบตะวันตกคือจอร์แดน 8-12,000 คน แต่ปาเลสไตน์ก็ต้องผิดหวัง เพราะทัพส่วนนี้เพียงเข้ายึดเขตเวสต์แบงค์ (ส่วนที่ UN แบ่งให้เป็นเขตปาเลสไตน์) ไม่ได้รุกเข้าไปในเขตของอิสราเอลแต่อย่างใด อังกฤษส่งสัญญาณชัดเจนว่าสนับสนุนจอร์แดนให้ผนวกเขตเวสต์แบงค์และเยรูซาเลมเป็นของตน

ฝ่ายยิวมีกองกำลังติดอาวุธ Haganah, Palmach, Irgun และ Lehi ผ่านการสู้รบในช่วงที่อาหรับลุกฮือต่อต้านยิวในเขตปาเลสไตน์ช่วงปี 1920, 29 และ 36 (สมัยยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษ) กลุ่ม Irgun ถูก MI5 ขึ้นบัญชีเป็นกลุ่มก่อการร้าย เพราะลอบก่อวินาศกรรมผลประโยชน์ของอังกฤษและอาหรับหลายครั้ง ในเดือน พ.ค.1948 กำลังของยิวทั้งหมดรวมกันจัดตั้งเป็น IDF ได้รับการสนับสนุนจากนายทุนยิวทั้งในยุโรปและอเมริกาลักลอบจัดส่งผ่านปฏิบัติการ Operation Balak จากเชคโกสโลวาเกีย โดยรวมแล้ว ฝ่ายยิวมีอาวุธเหนือกว่ามาก

 

2 4

[รูปที่ 3 กองกำลังชาวยิวในกองทัพอังกฤษ ปี ค.ศ. 1942]

2 5

[รูปที่ 4 ป้ายประกาศจับผู้ก่อการร้ายกลุ่ม Irgun โดยกองกำลังตำรวจอังกฤษประจำปาเลสไตน์ มีนายเมนาฮม เบกิน ที่ต่อมาได้เป็นนายกอิสราเอลรวมอยู่ด้วย]

ชะตากรรมจึงตกกับชาวอาหรับปาเลสไตน์ ซึ่งกองกำลังของตนต้องรบแบบตามมีตามเกิด แถมในส่วนที่อยู่ในเขตเวสต์แบงค์ก็ถูกทางจอร์แดนแบน ด้วยกลัวว่าจะขัดขืนอำนาจของตน ทันทีที่ UN ลงมติสนับสนุนแผนแบ่งประเทศในเดือนธันวาคม 1947 กองกำลัง Haganah ก็เข้าควบคุมพื้นที่ซึ่งก็มีชาวปาเลสไตน์อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อ Haj Amin al-Husseini ผู้นำปาเลสไตน์เตรียมประกาศจัดตั้งประเทศปาเลสไตน์ ให้เมืองหลวงอยู่ที่ Safed ใกล้ทะเลสาบกาลิลี กษัตริย์อับดุลลอฮ I พยายามระงับโดยสั่งให้ทหารจอร์แดนซึ่งป้องกันเมือง Safed ถอนตัวออกมา ทำให้เมืองถูกกองกำลัง Haganah ยึดไปอย่างง่ายดาย ตอนนั้นอังกฤษเริ่มถอนทหาร เมืองใหญ่ที่มีอาหรับจำนวนมากอย่าง Tiberias, Haifa, Beisan, Jaffa และ Acre ถูกยึด ในเดือนเมษายน 1948 เกิดการสังหารหมู่ที่ Deir Yassin โดยกองกำลัง Irgun และ Lehi ทำให้ชาวอาหรับตามเมืองเหล่านั้นราว 400,000 คน ละทิ้งบ้านเรือนของตนหนีไปยังเขตที่ทหารอาหรับยึดครองอยู่

วันที่ 14 พฤษภาคม 1948 หนึ่งวันก่อนสิ้นสุดเขตอาณานิคมปาเลสไตน์ของอังกฤษ เบนกูเรียนก็ประกาศจัดตั้งรัฐอิสราเอลขึ้น ทั้งอเมริกาและโซเวียตประกาศรับรองรัฐอิสราเอลแทบจะในวันเดียวกัน  ชาติอาหรับมะงุมมะงาหราเพิ่งจะเริ่มวางแผนเพื่อทำสงคราม และชาวปาเลสไตน์นับแสนต้องหนีตายกลายเป็นผู้ลี้ภัย ตั้งแต่สงครามอาหรับ-อิสราเอล ยังไม่ได้เริ่ม

 

2 6

 

--------------------------------------------------------------

เรื่องที่เกี่ยวข้อง