บทความ

คอร์โดบา เมืองหลวงของอุมัยยะห์ในสมัยของอับดุรรอฮมานที่ 3 จนถึงสมัยของอัลมันซูร เป็นมหานครที่ใหญ่โตและเจริญรุ่งเรื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป เป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมเคียงคู่คอนแสตนติโนเปิลและแบกแดด ด้วยประชากรครึ่งล้านคน บ้านเรือน 113,000 หลัง เขตชานเมือง 21 แห่ง มัสยิด 3,000 แห่ง หอสมุดกว่า 70 แห่ง สถานที่อาบน้ำสาธารณะ และพระราชวังหลายสิบแห่ง ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

จากสภาพโครงสร้างของประชากร และปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆทั้งมุสลิมพื้นเมือง ชาวอาหรับ เบอร์เบอร์และกลุ่มทหารรับจ้างที่ค่อยๆเข้ามามีบทบาทในการปกครองตามหัวเมืองต่างๆ เมื่ออำนาจของส่วนกลางอ่อนแอลง สเปนจึงถูกแบ่งแยกออกเป็นนครรัฐท้องถิ่นเล็กๆจำนวนมาก เรียกกันว่า มุลูค อัฏเฏะวาอีฟ (ملوك الطوائف ภาษาสเปน เรียกว่า reyes de taifas)

หลังจากคอลีฟะห์แห่งดามัสกัสถูกโค่นล้มในปี ค.ศ. 750 และสถาปนาคอลีฟะห์วงศ์อับบาซิยะห์ขึ้นแทนที่แบกแดด อับดุรรอฮมาน บิน มุอาวิยะห์ (عبد الرحمن الداخل) หลานของอดีตคอลีฟะห์ฮิชาม ซึ่งรอดพ้นจากการสังหารหมู่ของพวกอับบาซิยะห์มาได้อย่างหวุดวิด ได้หลบหนีไปยังอัฟริกาเหนือ

การเข้าไปของมุสลิมอาหรับในสเปน เริ่มขึ้นหลังจากที่คอลีฟะห์(กาหลิบ)วงศ์อุมัยยะห์แห่งดามัสกัสสามารถครอบครองโมรอคโคส่วนใหญ่ไว้ได้แล้ว ในตอนนั้นสเปนตกอยู่ใต้อำนาจของพวกวิซิโกธ ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและปกครองอย่างกดขี่ต่อชาวฮิสปาโน-โรมัน ชนพื้นเมืองของสเปน

ระยะเวลา 15 ศตวรรษหรือ 1,500 ปีนี้ มาจากภาพปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง หรือเหลียงชู ของจีน (ค.ศ. 502 - 563) บุคคลในภาพชื่อ อชิตะ (จีนออกเสียงเป็นอาเซ่อตัว) เป็นราชทูตจากลังกาสุกะ (จีนออกเสียงเป็น หลังหยาสิ้ว บางแหล่งเรียก หลาง หย่า ซุ่ย)

"เมื่อปี 1947 UN มีมติแบ่งอิสราเอล-ปาเลสไตน์เป็นสองประเทศเท่าๆกัน แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับเอง"
ข้ออ้างนี้ มักถูกกล่าวถึงเสมอ เพื่ออ้างความชอบธรรมในการก่อตั้งประเทศอิสราเอลและขับไล่ชาวปาเลสไตน์เกือบล้านคนออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
ทำไมอาหรับถึงไม่ยอมรับ ?  ข้อเท็จจริงที่มักไม่มีใครพูดถึงก็คือ

“ทันทีที่มีการประกาศตั้งประเทศอิสราเอล บรรดาชาติอาหรับซึ่งมีกำลังเหนือกว่าก็ยกทัพหวังบดขยี้อิสราเอลให้พินาศ แต่อิสราเอลสามารถเอาชนะศัตรูผู้รุกรานได้”
เรื่องนี้ถูกอ้างอิงเสมอเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ข้อเท็จจริงคือฝ่ายอาหรับมีกำลังพลและอาวุธด้อยกว่า ซ้ำยังมีความแตกแยกกันเอง โดยเฉพาะระหว่างอียิปต์และจอร์แดน

"ชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นผู้อพยพ เพราะเมื่อปี 1948 ชาติอาหรับได้สั่งให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา เพื่อได้กวาดล้างยิวให้หมด แต่เมื่ออาหรับแพ้ พวกเขาเลยกลับไม่ได้”

ตั้งแต่ดินแดนส่วนใหญ่ของสเปน ถูกรัฐคริสเตียนที่ประกอบด้วยแคชตีล อะรากอนและโปรตุเกสพิชิตไปในช่วงครึ่งแรกของคริสตวรรษที่ 13 ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของสังคมต่างวัฒนธรรมต่างความเชื่ออันได้แก่มุสลิม คริสเตียนและยิว ซึ่งนักประวัติศาสตร์สเปนในปัจจุบันเรียกกันว่า convivencia ซึ่งแปลว่า “การอาศัยอยู่ร่วมกัน”

ประมาณปี ค.ศ. 1250 พื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไอบีเรียตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งอะรากอน แคชตีลและโปรตุเกส มีเพียงเกรนาดาและดินแดนโดยรอบทางตอนใต้ที่มุสลิมยังสามารถครอบครองอยู่ต่อมาอีกประมาณ 250 ปี 

อับดุลเราะห์มาน อิบนุ อุมัร อัศศูฟีย์ นักดาราศาสตร์มุสลิมมีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 903-986 ในยุคที่อำนาจของเคาะลีฟะห์วงศ์อับบาซิยะห์ได้เสื่อมลง และเกิดอาณาจักรต่างๆแยกตัวเป็นอิสระ

แม้ในช่วงแรกๆ นักดาราศาสตร์มุสลิมจะสนใจดาราศาสตร์ของอินเดีย แต่ดาราศาสตร์ของกรีกก็เริ่มเข้ามา นักวิชาการประจำหอสมุดบัยตุลฮิกมะห์แห่งแบกแดดมีบทบาทสำคัญในกรณีนี้