ระยะเวลา 15 ศตวรรษหรือ 1,500 ปีนี้ มาจากภาพปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง หรือเหลียงชู ของจีน (ค.ศ. 502 - 563) บุคคลในภาพชื่อ อชิตะ (จีนออกเสียงเป็นอาเซ่อตัว) เป็นราชทูตจากลังกาสุกะ (จีนออกเสียงเป็น หลังหยาสิ้ว บางแหล่งเรียก หลาง หย่า ซุ่ย)

ปืนใหญ่กระบอกนี้หล่อขึ้นที่สงขลา เมื่อปี ค.ศ.1623 สมัยที่นครรัฐสงขลาปกครองโดยสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ และตั้งป้อมเมืองอยู่ที่บริเวณหัวเขาแดง มีความยาว 11 ฟุต 10 นิ้วครึ่ง

หมุดแรก จะพาไปที่บริเวณคลองซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของคลังสินค้าและชุมชนพ่อค้าฮอลันดา
ในงานวิจัยภาคสนามของ Bougas เมื่อปี ค.ศ.1988 (2531) ระบุถึงคลองสายนี้ (ซึ่งทั้งตื้นเขินและบางส่วนถูกปรับเป็นพื้นที่นา) ได้รับการบอกต่อๆกันมาเรียกว่า “Kelang Belanda (Dutch Canal) เนื่องจากบริเวณริมคลองแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของคลังเก็บสินค้าและชุมชนพ่อค้าชาวดัตช์และอังกฤษ

ชาวสะกอมเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อหนีอหิวาตกโรคมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บางพังกา ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ต่อมาเกิดภาวะฝนแล้งจนพรุกระจูดแห้ง ผู้นำจึงได้ออกสำรวจสถานที่มาเรื่อยๆ จนพบคลองที่ไหลมาจากอำเภอนาทวี ออกสู่อ่าวไทยที่บ้านปากบางสะกอม

คาดว่าจะมาจากไทรบุรีหรือเคดะห์ เนื่องจากในอดีตทางกรุงรัตนโกสินทร์ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่ในการปกครองเมืองไทรบุรี-เคดะห์ ซึ่งเป็นประเทศราชให้แก่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่าทางเคดะห์เคยก่อกบฏต่อต้านการปกครองของสยามช่วง ปี ค.ศ.1832-39 หลังสงคราม คาดว่าจะมีการยึดศาสตราวุธและเชลยจำนวนหนึ่งไปยังนครศรีธรรมราชฃ

 เรามักจะได้ยินเรื่องราวของปืนใหญ่พญาตานี ว่าหล่อโดยช่างชาวจีน นามลิ้มโต๊ะเคี้ยม ทั้งนี้ มีบันทึกประวัติศาสตร์อ้างอิงเรื่องนี้ที่สำคัญสองชิ้นคือ