หมุดแรก จะพาไปที่บริเวณคลองซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของคลังสินค้าและชุมชนพ่อค้าฮอลันดา
ในงานวิจัยภาคสนามของ Bougas เมื่อปี ค.ศ.1988 (2531) ระบุถึงคลองสายนี้ (ซึ่งทั้งตื้นเขินและบางส่วนถูกปรับเป็นพื้นที่นา) ได้รับการบอกต่อๆกันมาเรียกว่า “Kelang Belanda (Dutch Canal) เนื่องจากบริเวณริมคลองแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของคลังเก็บสินค้าและชุมชนพ่อค้าชาวดัตช์และอังกฤษ

ชาวสะกอมเป็นชนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากอำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เพื่อหนีอหิวาตกโรคมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บางพังกา ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ต่อมาเกิดภาวะฝนแล้งจนพรุกระจูดแห้ง ผู้นำจึงได้ออกสำรวจสถานที่มาเรื่อยๆ จนพบคลองที่ไหลมาจากอำเภอนาทวี ออกสู่อ่าวไทยที่บ้านปากบางสะกอม

เป็นจารึกของจาม ซึ่งพูดภาษามลายู-จาม จารึกด้วยตัวอักษรพรามี (Brāhmī scrip - ตัวอักษรต้นกำเนิดของอักษรในเอเชียตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ในสมัยของภัทรวรมันที่ 1 (Bhadravarman I) กษัตริย์จามปาในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 4

คาดว่าจะมาจากไทรบุรีหรือเคดะห์ เนื่องจากในอดีตทางกรุงรัตนโกสินทร์ได้มอบหมายอำนาจหน้าที่ในการปกครองเมืองไทรบุรี-เคดะห์ ซึ่งเป็นประเทศราชให้แก่นครศรีธรรมราช ปรากฏว่าทางเคดะห์เคยก่อกบฏต่อต้านการปกครองของสยามช่วง ปี ค.ศ.1832-39 หลังสงคราม คาดว่าจะมีการยึดศาสตราวุธและเชลยจำนวนหนึ่งไปยังนครศรีธรรมราชฃ

"ชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นผู้อพยพ เพราะเมื่อปี 1948 ชาติอาหรับได้สั่งให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา เพื่อได้กวาดล้างยิวให้หมด แต่เมื่ออาหรับแพ้ พวกเขาเลยกลับไม่ได้”

“ทันทีที่มีการประกาศตั้งประเทศอิสราเอล บรรดาชาติอาหรับซึ่งมีกำลังเหนือกว่าก็ยกทัพหวังบดขยี้อิสราเอลให้พินาศ แต่อิสราเอลสามารถเอาชนะศัตรูผู้รุกรานได้”
เรื่องนี้ถูกอ้างอิงเสมอเพื่อสร้างความชอบธรรมในการยึดครองดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ข้อเท็จจริงคือฝ่ายอาหรับมีกำลังพลและอาวุธด้อยกว่า ซ้ำยังมีความแตกแยกกันเอง โดยเฉพาะระหว่างอียิปต์และจอร์แดน