"เมื่อปี 1947 UN มีมติแบ่งอิสราเอล-ปาเลสไตน์เป็นสองประเทศเท่าๆกัน แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับเอง"
ข้ออ้างนี้ มักถูกกล่าวถึงเสมอ เพื่ออ้างความชอบธรรมในการก่อตั้งประเทศอิสราเอลและขับไล่ชาวปาเลสไตน์เกือบล้านคนออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
ทำไมอาหรับถึงไม่ยอมรับ ?  ข้อเท็จจริงที่มักไม่มีใครพูดถึงก็คือ

ตั้งแต่ดินแดนส่วนใหญ่ของสเปน ถูกรัฐคริสเตียนที่ประกอบด้วยแคชตีล อะรากอนและโปรตุเกสพิชิตไปในช่วงครึ่งแรกของคริสตวรรษที่ 13 ก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของสังคมต่างวัฒนธรรมต่างความเชื่ออันได้แก่มุสลิม คริสเตียนและยิว ซึ่งนักประวัติศาสตร์สเปนในปัจจุบันเรียกกันว่า convivencia ซึ่งแปลว่า “การอาศัยอยู่ร่วมกัน”

ประมาณปี ค.ศ. 1250 พื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไอบีเรียตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งอะรากอน แคชตีลและโปรตุเกส มีเพียงเกรนาดาและดินแดนโดยรอบทางตอนใต้ที่มุสลิมยังสามารถครอบครองอยู่ต่อมาอีกประมาณ 250 ปี 

การเข้ามาของมุรอบิฏูน
พวกมุรอบิฏูน เป็นชาวเบอร์เบอร์ที่เริ่มมีอำนาจในโมรอคโคประมาณกลางคริสศตวรรษที่ 11 จากจุดกำเนิดในบริเวณเซเนกัลตอนล่าง ยูซุฟ บิน ตะชุฟิน (ค.ศ. 1061-1106) หนึ่งในผู้ก่อตั้งอาณาจักรแห่งนี้ได้ก่อสร้างเมืองมะรอกิช (ที่มาของชื่อโมรอคโค) เพื่อเป็นเมืองหลวงในปี ค.ศ. 1062 

จากสภาพโครงสร้างของประชากร และปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติพันธุ์ต่างๆทั้งมุสลิมพื้นเมือง ชาวอาหรับ เบอร์เบอร์และกลุ่มทหารรับจ้างที่ค่อยๆเข้ามามีบทบาทในการปกครองตามหัวเมืองต่างๆ เมื่ออำนาจของส่วนกลางอ่อนแอลง สเปนจึงถูกแบ่งแยกออกเป็นนครรัฐท้องถิ่นเล็กๆจำนวนมาก เรียกกันว่า มุลูค อัฏเฏะวาอีฟ (ملوك الطوائف ภาษาสเปน เรียกว่า reyes de taifas)

คอร์โดบา เมืองหลวงของอุมัยยะห์ในสมัยของอับดุรรอฮมานที่ 3 จนถึงสมัยของอัลมันซูร เป็นมหานครที่ใหญ่โตและเจริญรุ่งเรื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป เป็นศูนย์กลางทางอารยธรรมเคียงคู่คอนแสตนติโนเปิลและแบกแดด ด้วยประชากรครึ่งล้านคน บ้านเรือน 113,000 หลัง เขตชานเมือง 21 แห่ง มัสยิด 3,000 แห่ง หอสมุดกว่า 70 แห่ง สถานที่อาบน้ำสาธารณะ และพระราชวังหลายสิบแห่ง ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย