"ชาวปาเลสไตน์ต้องกลายเป็นผู้อพยพ เพราะเมื่อปี 1948 ชาติอาหรับได้สั่งให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา เพื่อได้กวาดล้างยิวให้หมด แต่เมื่ออาหรับแพ้ พวกเขาเลยกลับไม่ได้”

เป็นอีกหนึ่งในข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการสถาปนารัฐอิสราเอลที่เรามักได้ยินบ่อยครั้ง เมื่ออ่านตำราประวัติศาสตร์ความขัดแย้งปาเลสไตน์-ยิว

ข้อเท็จจริงที่ควรพิจารณาก็คือ

1. หลัง UN มีมติแบ่งประเทศในเดือนธันวาคม 1947 ก็เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น มีการทำร้ายไปมากันทั้งสองฝ่าย แต่ยิวซึ่งมีกำลังมากกว่าและการจัดตั้งดีกว่าเข้าควบคุมเมืองสำคัญๆริมชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนและที่ราบรอบทะเลสาบกาลิลี ทันทีที่ UN มีมติ ปฏิบัติการของกองกำลัง Haganah ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 1947- 1 มกราคม 1948 โจมตีหมู่บ้านปาเลสไตน์ Hassawa และ Balad Al Sheik จับชาวปาเลสไตน์ไปยิงทิ้ง 70 คน ปฏิบัติการก่อการร้ายของกลุ่มติดอาวุธ Irgun และ Lehi ทั้งต่อชาวอาหรับและฝ่ายอังกฤษ มีทั้งการปิดล้อม ทำลายหมู่บ้าน ปิดเส้นทางสัญจร ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร และถึงขั้นขว้างระเบิดขวดน้ำมันใส่รถโดยสารของชาวอาหรับ ทำให้ผู้โดยสารในรถถูกไฟคลอกเสียชีวิตทั้งคัน ฯลฯ สร้างความหวาดกลัวไปทั่ว มีชาวบ้านจำนวนมากตัดสินใจหนีออกจากพื้นที่ จนถึงเดือนมีนาคม 1948 ปาเลสไตน์นับแสนคนจากเมืองต่างๆริมเมดิเตอร์เรเนียนและรอบๆทะเลสาบกาลิลีเข้าไปยังนาบลัส จะนีนและอัครา

3 1

[รูปที่ 1 แผนที่แสดงชุมชนชาวปาเลสไตน์ที่ถูกกวาดล้างช่วงปี 1947-48]


ชาติอาหรับรอบข้างเริ่มวิตกและพยายามสกัดคลื่นผู้อพยพตั้งแต่เริ่มแรกของสงคราม ฝ่ายปาเลสไตน์ โดย The AHC (Arab Higher Committee) ออกมาตรการต่างๆเพื่อหยุดยั้งคลื่นผู้อพยพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้คนที่สามารถเป็นทหารได้
'In general, during the first months of the war until April 1948 the Palestinian leadership struggled, if not very manfully, against the exodus: "The AHC [Arab Higher Committee] decided .... to adopt measures to weaken the exodus by imposing restrictions, penalties, threats, propaganda in the press [and] on the radio .... [The AHC] tried to obtain the help of neighboring countries in this context ..... [The AHC] especially tried to prevent the flight of army-age young males," according to IDF intelligence'. (BennyMorris, p. 60)
ขณะที่กองกำลัง Haganah ของยิว โต้กลับด้วยการออกข่าว ปจว.ว่าพวกที่หนี จริงๆแล้วสุดท้ายจะได้ไปฝึกอาวุธที่ชาติอาหรับเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมกลับมาสู้รบใหม่
ไม่มีหลักฐานใดที่แสดงว่าผู้นำชาติอาหรับสั่งหรือสนับสนุนให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกไป ตรงกันข้ามพวกเขาสนับสนุนให้ชาวปาเลสไตน์ยืนหยัดอยู่บนแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง
'Whatever the reasoning and attitude of the Arab states' leaders, I have found no contemporary evidence to show that either the leaders of the Arab states or the Mufti [Hajj Amin al-Husseini] ordered or directly encouraged the mass exodus during April [1948]. It may be worth noting that for decades the policy of the Palestinian Arab leaders had been to hold fast to the soil of Palestine and to resist the eviction and displacement of Arab communities'. (Benny Morris, p. 66)

3 3

2. ท่าทีของผู้นำยิวก็ชัดเจนแต่ต้นว่าไม่พอใจต่อการมีอยู่เป็นจำนวนมากของชนกลุ่มน้อยอาหรับในประเทศที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่ในฐานะ “รัฐของชาวยิว” การที่มีอาหรับอยู่ถึง 350,000 คน ไม่อาจจะทำให้รัฐอิสราเอลมีความมั่นคงขึ้นได้
เบนกูเรียน กล่าวไว้ที่ the Central Committee of the Histadrut เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 1947
"In the area allocated to the Jewish State there are not more than 520,000 Jews and about 350,000 non-Jews, mostly Arabs. Together with the Jews of Jerusalem, the total population of the Jewish State at the time of its establishment, will be about one million, including almost 40% non-Jews. such a [population] composition does not provide a stable basis for a Jewish State. This [demographic] fact must be viewed in all its clarity and acuteness. With such a [population] composition, there cannot even be absolute certainty that control will remain in the hands of the Jewish majority .... There can be no stable and strong Jewish state so long as it has a Jewish majority of only 60%." (Expulsion Of The Palestinians, p. 176 & Benny Morris p. 28)
ผู้นำยิวใช้คำว่า compulsory transfer เพื่อให้มันดูซอฟต์ลงกว่าคำว่า Ethnic cleansing แต่ยังไงๆมันก็คือการกวาดล้างชาวปาเลสไตน์ให้ออกไปจากบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขานั่นเอง
"With compulsory transfer we [would] have a vast area [for settlement].... I support compulsory transfer. I don't see anything immoral in it." (Righteous Victims p. 144).

3. ในการรบช่วงกรกฏาคม 1948 ทหารจอร์แดนเสียเมืองใหญ่สำคัญไปสองเมืองคือ Lydda และ Ramla เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีประชากร 60,000-70,000 คน ทั้งหมดเป็นอาหรับ หลังเสียเมือง ประชากรไม่ยอมหนีไปใหน ในบันทึกของยิซซัก ราบิน ที่คุมการรบครั้งนั้นระบุชัดเจนว่าสุดท้ายพวกเขาต้องไล่ชาวเมืองออกให้ได้
"After attacking Lydda [later called Lod] and then Ramla, .... What would they do with the 50,000 civilians living in the two cities ..... Not even Ben-Gurion could offer a solution .... and during the discussion at operation headquarters, he [Ben-Gurion] remained silent, as was his habit in such situations. Clearly, we could not leave [Lydda's] hostile and armed populace in our rear, where it could endangered the supply route [to the troops who were] advancing eastward. Ben-Gurion would repeat the question: What is to be done with the population?, waving his hand in a gesture which said: Drive them out! [garesh otem in Hebrew]. 'Driving out' is a term with a harsh ring, .... Psychologically, this was on of the most difficult actions we undertook". (Soldier Of Peace, p. 140-141 & Benny Morris, p. 207)

3 2

ทหารยิวยิงประชาชนที่เดินอยู่บนท้องถนนโดยไม่เลือกว่าใครตายไป 250 คนในช่วงเที่ยงของวันที่ 12 กรกฎาคม 1948 อิสราเอลสั่งให้ประชาชนนับหมื่นคนออกจากเมือง ต้องเดินทางเป็นสิบๆไมล์นานถึง 3 วันภายใต้สภาพอากาศร้อนจัด เพื่อไปยังเขตที่อาหรับยึดครองอยู่ จำนวนมากถูกทหารยิวปล้นสะดมระหว่างทาง นับเป็นโศกนาถกรรมที่นักประวัติศาสตร์ยิวไม่ค่อยจะกล่าวถึงมากนัก

3 5ราบิน กล่าวยอมรับว่ามันคือจุดด่างพร้อยที่สุดในอาชีพทหารของเขาเรื่องนี้ว่า
"Great Suffering was inflicted upon the men taking part in the eviction action. [They] included youth-movement graduates who had been inculcated with values such as international brotherhood and humaneness. The eviction action went beyond the concepts they were used to. There were some fellows who refused to take part. . . Prolonged propaganda activities were required after the action . . . to explain why we were obliged to undertake such a harsh and cruel action." (Simha Flapan, p. 101)ข้ออ้างที่เรามักได้ยินว่าชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา เพราะผู้นำอาหรับเป็นคนสั่งให้ออกมาเอง เป็นเพียงดราม่าหนึ่งของสงครามที่เขียนโดยผู้ชนะ ธรรมดาที่ผู้ชนะจะถูกทำให้เป็นพระเอก มีจำนวนน้อยกว่า เก่งกาจ กล้าหาญกว่าผู้แพ้ ซึ่งถูกทำให้เป็นผู้ร้าย ความเป็นจริงที่สงครามระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในปี 1948 ก็หลีกหนีไม่พ้น


"This popular-heroic-moralistic version of the 1948 war has been used extensively in Israeli propaganda and is still taught in Israeli schools. It is a prime example of the use of a nationalistic version of history in the process of nation building. In a very real sense history is the propaganda of the victors, and the history of the 1948 war is no exception." โดย Avi Shlaim

 

------------------------------------------------------------------

เรื่องที่เกี่ยวข้อง