"เมื่อปี 1947 UN มีมติแบ่งอิสราเอล-ปาเลสไตน์เป็นสองประเทศเท่าๆกัน แต่ฝ่ายอาหรับไม่ยอมรับเอง"
ข้ออ้างนี้ มักถูกกล่าวถึงเสมอ เพื่ออ้างความชอบธรรมในการก่อตั้งประเทศอิสราเอลและขับไล่ชาวปาเลสไตน์เกือบล้านคนออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง
ทำไมอาหรับถึงไม่ยอมรับ ?  ข้อเท็จจริงที่มักไม่มีใครพูดถึงก็คือ


1. ปี 1914 ชาวยิวในปาเลสไตน์มีเพียงแค่ 8% และครอบครองที่ดินแค่ร้อยละ 2 ส่วนใหญ่เข้ามาหลังโดนนโยบายแอนตี้ยิวจากพระเจ้าซาร์แห่งรัสเซีย และแม้หลังอังกฤษมีคำประกาศบัลฟอร์ เร่งอพยพชาวยิวเข้าไปตั้งถิ่นฐานในปาเลสไตน์ สัดส่วนชาวยิวเพิ่มเพียง 33% ในปี 1946 (รูปที่ 1) แต่มีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองปาเลสไตน์ ส่วนใหญ่ที่เหลือยังถือสัญชาติเดิมคือรัสเซีย โปแลนด์และเยอรมัน

1 1

[รูปที่ 1 สัดส่วนประชากรปาเลสไตน์และยิวในปี 1946 แต่ละเขตในปาเลสไตน์]


2. ชาวยิวครอบครองที่ดิน 7% เท่านั้นในปี 1946 (รูปที่ 2) อยู่ๆจะมาขอแบ่งประเทศให้ยิว 60% ปาเลสไตน์ 40% (รูปที่ 3) การยกดินแดนส่วนใหญ่ให้ชนกลุ่มน้อยที่เดิมครองพื้นที่ 7% ไปครอบครอง ชนส่วนใหญ่ย่อมรับไม่ได้

1 2

[รูปที่ 2 สัดส่วนการถือครองที่ดินระหว่างชาวปาเลสไตน์ ยิวและเขตสาธารณประโยชน์ในปี 1946 แยะตามแต่ละเขต]
.

3. มีความพยายามจากชาติอำนาจคืออเมริกาในการล็อบบี้ให้สมาชิก UN รับรอง ทั้งการขู่ตัดเงินช่วยเหลือหลัง WW II รวมทั้งความพยายามจากนักธุรกิจยิวในการล็อบบี้นักการเมืองอเมริกา ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ เราประจักษ์ได้ แม้แต่ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้

1 6

[ รูปที่ 3 พาสปอร์ตแสดงการเป็นพลเมืองปาเลสไตน์ ออกโดยทางการอังกฤษ]

 

4. ในเดือนมีนาคม 1948 อเมริกา ฝรั่งเศสและจีน หันมาเห็นด้วยกับข้อเสนอเรื่อง trusteeship แทนการแบ่งประเทศ เพราะยังไงๆสัดส่วนยิว:ปาเลสไตน์ มันมีแค่ 1 ต่อ 3 จะให้แบ่ง 60/40 มันค้านสายตาชาวโลก แต่ฝ่ายยิว คือเบนกูเรียน ค้านหัวชนฝา "It is we who will decide the fate of Palestine. We cannot agree to any sort of Trusteeship, permanent or temporary. The Jewish State exists because we defend it." (Israel: A History, p. 165)

1 31 4

[ รูปที่ 4 ข้อเสนอของ UN ในการแบ่งประเทศอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ปี 1947 และข้อเสนอของอังกฤษตาม Peel Commission plan ]



5. ก่อนจะมีข้อเสนอ UN ในปี 1948 อังกฤษเคยมีข้อเสนอแบ่งประเทศมาแล้วในปี 1937 เรียกว่า Peel Commission plan (รูปที่ 4) แต่ได้รับการปฏิเสธจากที่ประชุมสภาไซออนิสต์ครั้งที่ 20 ด้วยข้ออ้างว่ามันยังไม่พอ ตอนนั้นชาวยิวมีแค่ 27% แต่ตามข้อเสนอจะได้ดินแดนแหล่งน้ำอันอุดมสมบูรณ์รอบทะเลสาบกาลิลี ถ้ายิวยอมรับซะตั้งแต่ตอนนั้น และอพยพคนของตนไปอยู่ ชาวยิว 6 ล้านคน อาจจะรอดจากเงื้อมมือของนาซีก็ได้ เบนกูเรียนเคยกล่าวตัดพ้อเรื่องนี้ว่า "Had partition [referring to the Peel Commission partition plan] been carried out, the history of our people would have been different and six million Jews in Europe would not have been killed---most of them would be in Israel" (One Palestine Complete, p. 414).

1 5

กระนั้นเบนกูเรียนก็ปฏิเสธ Peel Commission plan เพราะเขาเห็นว่า ประเทศใหม่ที่จะก่อตั้งขึ้นนี้ไม่อาจขยับขยายได้อีก
"No Zionist can forgo the smallest portion of the Land Of Israel. [A] Jewish state in part [of Palestine] is not an end, but a beginning ..... Our possession is important not only for itself ... through this we increase our power, and every increase in power facilitates getting hold of the country in its entirety. Establishing a [small] state .... will serve as a very potent lever in our historical effort to redeem the whole country." (Righteous Victims, p. 138)


6. เบนกูเรียน นายกยิวคนแรกของอิสราเอล ยอมรับแผนแบ่งประเทศ แต่เพียงเพื่อว่ามันจะทำให้อิสราเอลมีโอกาสสร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ไว้พิชิตดินแดนเพิ่มเติมอีกในภายหลัง "[I am] satisfied with part of the country, but on the basis of the assumption that after we build up a strong force following the establishment of the state--we will abolish the partition of the country and we will expand to the whole Land of Israel." (Expulsion Of The Palestinians, p. 107 & One Palestine Complete, p. 403)

ทุกวันนี้ ยิวอ้างมตินี้ทุกครั้งเพื่อยืนยันสิทธิการก่อตั้งอิสราเอล แต่อีกมติหนึ่งที่ยิวไม่เคยอ้างและไม่เคยปฏิบัติตามคือมติ UN GA resolution 194 ที่ให้ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์เกือบล้านคนมีสิทธิกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองในพื้นที่ที่เป็นประเทศอิสราเอลปัจจุบัน มีชาวปาเลสไตน์เกือบล้านคนที่ต้องเป็นผู้ลี้ภัยจากการก่อตั้งอิสราเอล